Health4senior

5 สมุนไพรดีจากธรรมชาติที่ช่วยต้านและบรรเทาไข้หวัด

ในฤดูที่อากาศเปลี่ยน โรคที่เป็นกันแทบจะทุกบ้านก็คือไข้หวัด แค่โดนฝนนิดเดียวไข้หวัดก็มาเยือนเสียแล้ว บางครั้งการที่เรารู้ตัวว่าปวยไม่มาก หลายคนก็คงไม่อยากไปโรงพยาบาล บางคนเลือกใช้วิธีกินยาและพักผ่อนจนกว่าจะหายดี รวมไปถึงทางเลือกพิเศษอย่างสมุนไพรธรรมชาติ ซึ่งมีสรรพคุณในการบรรเทาไข้หวัดและเสริมภูมิคุ้มกันได้ แต่จะมีอะไรบ้างนั้นที่รับประทานแล้วได้ผล มีความนิยมแพร่หลายที่ค่อนข้างเป็นสากล ต้องมาดูกัน

 

1. เอ็กไคนาเซีย

เอ็กไคนาเซีย (Echinacea purpurea) เป็นพืชสมุนไพรของทางตะวันตก มีดอกสีชมพู หรือส้มอมแดง ซึ่งใช้กันมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในเมืองไทยมีขายในรูปแบบของวิตามินอาหารเสริมชนิดน้ำ, เม็ดและแบบผงแห้ง การรับประทานเอ็กไคนาเซียสามารถลดระยะเวลาของการเป็นไข้ ลงได้ประมาณ 10 – 30 เปอร์เซ็นต์ เอ็กไคนาเซียมีอยู่หลายพันธุ์ แต่พันธุ์ที่ได้รับการทดสอบว่ามีผลดังกล่าวคือ พันธุ์เพอร์พูเรีย และได้ผลการรักษาชัดเจนในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก โดยเฉพาะเมื่อรับประทานในช่วง 24 ชั่วโมงแรกของการเป็นไข้หวัด เพราะจะไปกระตุ้นการทำงานและเพิ่มปริมาณเม็ดเลือดขาว ให้การกำจัดเชื้อแปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้น แต่ไม่มีผลในการป้องกันไข้หวัดได้ ผู้ที่แพ้ละอองเกสรหรือดอกไม้บางชนิด จากไม้ล้มลุกในตระกูลดอกเดซี่ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคเอสแอลอี และโรคข้อรูมาตอยด์ ไม่ควรรับประทาน

 

2. อัลเดอร์เบอร์รี

อัลเดอร์เบอร์รี (Elderberry) เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก รูปทรงพุ่ม ออกผลเป็นพวง ลูกมีทรงกลมเล็ก ๆ เมื่อสุกจะมีสีม่วงเข้มถึงสีดำ รสชาติเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ เติบโตได้ดีในที่มีอากาศหนาวเย็น บางคนอาจเคยรับประทานน้ำเชื่อมอัลเดอร์เบอร์รีในขนมหวานมาก่อน นี่คือพืชชนิดเดียวกัน ในอัลเดอร์เบอร์รีมีสารไบโอฟลาโวนอยด์สูง โดยเฉพาะประเภทแอนโทไซยานิน ซึ่งสารชนิดนี้ช่วยเสริมเซลล์ภูมิคุ้มกัน และลดอาการติดเชื้อไวรัสได้ถึงระดับเซลล์ มีผลงานวิจัยบ่งชี้ว่าการใช้สารสกัดจากอัลเดอร์เบอร์รี 4 ช้อนชา กับผู้ป่วยเป็นเวลา 3 วัน ทำให้ช่วงของการเป็นไข้ลดลงถึง 56 เปอร์เซ็นต์ และช่วยลดอาการหวัดได้ด้วย

 

3. กระเทียม

คนไทยเราคุ้นกับกระเทียมมาก เพราะมีอยู่ในอาหารแทบทุกชนิด อีกทั้งยังเป็นพืชท้องถิ่นที่หาซื้อได้ง่าย ซึ่งก็ถือว่าโชคดี เพราะกระเทียมช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและช่วยต้านไวรัสด้วย ผลการวิจัยบางฉบับบ่งชี้ว่า กระเทียมลดความเสี่ยงที่จะเป็นไข้หวัดได้ นั่นหมายถึงสามารถกินก่อนที่จะเป็นไข้หวัด เพื่อหวังผลในเชิงป้องกัน และควรกินแบบสด ๆ จะดีที่สุด โดยอาจใช้วิธี บด สับ หรือหั่นก่อนรับประทาน แต่มีข้อควรระวังคือ เอ็นไซม์ที่มีประโยชน์ในกระเทียมจะถูกทำลาย หากปรุงสุกเกินไป และอาจใช้ไม่ได้ผลในทางยา อย่างไรก็ตาม การรับประทานกระเทียมสด อาจมีรสเผ็ดสำหรับคนที่ไม่คุ้นชิน ทำให้มีกลิ่นปาก และกลิ่นตัว สำหรับคนที่สนใจการรับประทานกระเทียมแบบอัดเม็ดหรือแคปซูล ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน เพราะไม่จำเป็นต้องเคี้ยวกินโดยตรงครั้งละมาก ๆ แต่ก็มีโอกาสเกิดกลิ่นตัว กลิ่นเหงื่อไม่พึงประสงค์ได้มากกว่าด้วย หากรับประทานระยะยาว

 

4. โสม

ไม่ว่าจะเป็นโสมจีน โสมเกาหลี หรือโสมญี่ปุ่น…เมื่อพูดถึงโสม เรามักนึกถึงสรรพคุณในการกระตุ้นร่างกาย ทำให้เข็งแรง เป็นยาอายุวัฒนะ จึงมักนิยมซื้อไปเป็นของกำนัลแก่ผู้สูงอายุ แต่ในความจริงแล้ว นอกจากความเสริมความแข็งแรง โสมหลาย ๆ สายพันธุ์ยังช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพิ่มความอบอุ่น แก้อาการเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว รวมถึงป้องกันและบรรเทาไข้หวัดได้ เมื่อรับประทานเป็นประจำในช่วงฤดูกาลไข้หวัดระบาด แต่การรับประทานโสม ควรศึกษาเรื่องหลักความสมดุลของร่างกายด้วย เพราะนับว่าเป็นสมุนไพรที่กระตุ้นร่างกายหลายด้านพอสมควร ดังนั้นผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรหลีกเลี่ยง

 

5. ฟ้าทะลายโจร

เป็นพืชสมุนไพรไทยที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ต้นฟ้าทลายโจรเป็นไม้ล้มลุก ขนาดสูงปานกลาง มีใบสีเขียวเข้ม ดอกสีขาวแซมม่วง หากรับประทานโดยตรงจะพบว่ามีรสชาติขมมาก นอกจากในตำรับแพทย์แผนไทยแล้ว ฟ้าทะลายโจรยังเป็นยาสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทวีปเอเชีย ทุกส่วนสามารถนำมาทำยาได้โดยใช้วิธีบดละเอียด อัดเม็ด ต้ม หรือรับประทานใบสดก็ได้ สรรพคุณคือช่วยลดอาการไข้ ลดน้ำมูก ขับเสมหะ แก้ร้อนใน ปรับอุณหภูมิในร่างกายให้สมดุล กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาว จนองค์การอนามัยโลกให้การรับรองว่าฟ้าทะลายโจรเป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณเป็นยารักษาอาการไข้หวัดจริง

อย่างไรก็ตาม การรับประทานสมุนไพรทุกครั้งควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน โดยเฉพาะเมื่อคุณมีโรคประจำตัว กำลังตั้งครรภ์ หรือกำลังรับประทานยาอื่น ๆ อยู่ และควรระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการเลือกซื้อสมุนไพรที่มีคุณภาพ นอกจากนั้นต้องไม่ลืมการออกกำลังกายเป็นประจำ กินอาหารที่มีประโยชน์ รวมถึงฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดชนิดพิเศษต่าง ๆ ด้วย นั่นจึงจะเป็นการป้องกันไข้หวัดอย่างได้ผลที่สุด

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา : www.webmd.com
ภาพประกอบจาก : www.pixabay.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก