Health4senior

เคืองหนักมาก…หน้ายังไม่แก่แต่ถูกเรียก ‘ลุง’ & ‘ป้า’ คิดบวกอย่างไร

แนวคิดเรื่องการดูแลสุขภาพซึ่งแพร่หลายในปัจจุบัน ส่งผลดีต่อหลาย ๆ คน คือ ทำให้เราดูดีจนเดาอายุกันแทบไม่ออก บางคนอายุ 40 – 50 แล้ว แต่หน้ายังเหมือนเพิ่ง 30 หมาด ๆ ไม่ว่าจะดารา หรือแม้แต่คนธรรมดาในสังคมรอบตัว ก็เหมือนจะดูแก่กันช้าลง ความจริงในข้อนี้ทำให้เวลาที่เราเจอสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก โดนเรียกลุงบ้าง เรียกป้าบ้างซึ่ง ๆ หน้า บางคนก็แอบเคืองในใจ บางรายจิตตกไปอีก เพราะถึงภายนอกจะดีอย่างไร แต่ก็อดหงอยเหงาในใจไม่ได้ว่าอายุแท้จริงของเรานั้นมากขึ้นจริง ๆ แล้วจะรับมือกับความรู้สึกนี้ยังไงกันล่ะ เรามีคำแนะนำในการคิดบวก

 

แนวคิดเรื่อง ‘ลุง’ และ ‘ป้า’

เมื่อถกกันเรื่องนี้ ก็ต้องหยิบยกท่อนหนึ่งในบทเพลงลูกทุ่งที่ว่า ‘เรียกพี่ได้ไหม แล้วพี่จะให้กินขนมหมื่นห้า ถ้าเรียกอา ลดมาห้าพัน เรียกลุงเลิกพลัน ไม่ให้สักพันแน่นอน’ ซึ่งขับร้องโดย คุณเสรี รุ่งสว่าง ขึ้นมา เนื้อหานี้สะท้อนให้เราเห็นค่านิยมของคนส่วนมากได้ชัดเจนว่า ไม่มีใครอยากดูแก่ทั้งในด้านกายภาพ และทัศนคติ เพราะเรามักรู้สึกไปเองโดยอัตโนมัติว่าเมื่ออายุมากขึ้น แก่แล้ว ก็หมายถึง ทำอะไรไม่ดีเหมือนแต่ก่อน คือ สมรรถภาพในด้านต่าง ๆ ลดลงนั่นเอง

 

แล้วจะรับมือกับความรู้สึก ‘แก่’ อย่างไร

  1. ความเคารพ
    การปรับความคิดของตัวเองไปในเชิงการแสดงความเคารพต่ออายุที่มากขึ้น คือ แนวคิดบวกที่ทรงพลัง การที่ผู้พูดเรียกคุณว่า ‘ลุง’ หรือ ‘ป้า’ อีกนัยหนึ่งแสดงว่า เขาลำดับความอาวุโสของคุณไว้มากกว่า ซึ่งในสังคมไทยเรามักได้รับการปลูกฝังว่าเด็กควรมีความนอบน้อมของผู้ใหญ่ ดังนั้น ลองมองในแง่ว่าเขาเคารพคุณ นั่นก็ดีไม่น้อย
  2. ความสนิทสนม
    ภายในสังคมของเราให้มีความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัว และเครือญาติ การเรียกคุณด้วยคำว่า ‘ลุง’ หรือ ‘ป้า’ เป็นการลดกำแพงระหว่างกันลง จากคนแปลกหน้าเข้าสู่ระดับความสนิทสนม ที่มีความเอื้ออารีต่อกันมากกว่า ดังนั้น เวลาได้ยินคำนี้ก็นึกเสียว่าเขาอาจเรียกคุณด้วยความเคยชิน เห็นคุณเป็นเหมือนญาติผู้ใหญ่คนหนึ่ง ที่มีวัยวุฒิ และวุฒิภาวะมากกว่า
  3. ความไม่จีรัง
    สำหรับวิธีนี้เป็นการปรับทัศนคติของตนเองให้เข้ากับหลักธรรมของศาสนาพุทธ ในเรื่องไตรลักษณ์ อันกล่าวถึงความไม่เที่ยงแท้ของทุกสรรพสิ่ง เมื่อกาลเวลาผ่านไป ถึงรูปร่างภายนอกจะยังดูงดงาม หรือบางคนอาจร่วงโรยตามวัย แต่ว่าจากสายตาคนภายนอก เขาเห็นคุณมานานมากแล้ว ดังนั้น ในสายตาของเขา คุณจึงเป็น ‘ลุง’ หรือ ‘ป้า’ เป็นเรื่องปกติธรรมดา ทำความเข้าใจในจุดนี้ด้วยอารมณ์ที่สงบจะดีกว่า

 

เมื่อต้องเป็น ‘ลุง’ และ ‘ป้า’

  1. ทำในสิ่งที่คุณอยากทำ
    ในขณะที่บางคนมีโอกาสทำในสิ่งที่อยากทำมาตั้งแต่เป็นวัยรุ่น วัยทำงาน แต่บางคนยังไม่มีโอกาสได้ทำในสิ่งที่อยากทำเลย เมื่อเริ่มรู้ตัวก็เข้าสูงวัยคุณลุงคุณป้าไปแล้ว แต่นั่นก็ยังไม่สายไป เพราะบางอย่างคุณสามารถทำได้ทันทีทุกวัน อย่าลืมสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเองด้วย
  2. ทำตัวเองให้มีคุณค่า
    ในเมื่อรู้ว่าตัวเองอยากทำอะไรไปแล้ว ลงมือทำเพื่อตัวเองไปแล้ว ลองย้อนกลับมาถามตัวเองว่า คุณเคยทำประโยชน์เพื่อคนอื่นแล้วหรือยัง ลองหากิจกรรมที่ทำแล้วช่วยส่งเสริมความคิด รอยยิ้ม และเสียงหัวเราะ พร้อมกับการสร้างแรงบันดาลให้กับตัวเองและช่วยเหลือผู้อื่น ต่อยอดให้รุ่นลูกรุ่นหลาน เพื่อที่พวกเขาได้ดำเนินแนวทางชีวิตที่ดีกว่าเดิม

การมองทุกสิ่งแบบคิดบวก สามารถลดความเครียด ลดความเสี่ยงต่อภาวะวิกฤตวัยกลางคนได้ การเข้าใจและยอมรับอย่างเป็นเหตุเป็นผล นอกจากจะส่งผลต่อทัศนคติแล้ว ก็จะสื่อออกมาเป็นทุกท่วงท่า สายตา การกระทำของคุณ ทำให้บุคลิกภาพของคุณมีความน่าเคารพ มีความมั่นใจในตัวเอง เพียงเท่านี้จะทำให้คุณมีความสุขและยิ้มรับกับคำว่า ‘ลุง’ หรือ ‘ป้า’ มากยิ่งขึ้น

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก