Health4senior

วิตามินและอาหารเสริม ป้องกันอาการสารพัดปวด

ไม่ว่าใครก็ต้องเคยสัมผัสกับความเจ็บปวด และเมื่อยล้าที่เกิดขึ้นกับร่างกาย บางคนเป็นแล้วก็หาย แต่บางคนมีอาการเรื้อรังยาวนาน จนกลายเป็นปัญหาใหญ่ในชีวิต อันที่จริง…ร่างกายของคนเรา ต้องการวิตามินและเกลือแร่ เพื่อการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ถ้าร่างกายขาดไป ก็อาจเป็นต้นเหตุของอาการปวดตามจุดต่าง ๆ ได้เช่นกัน ถ้าคุณสงสัยว่าอาการปวดที่เป็นอยู่ อาจเกี่ยวข้องกับการขาดวิตามิน หรือแร่ธาตุบางอย่าง ลองมาดูกันว่า วิตามินและอาหารเสริมชนิดไหน ที่เหมาะกับคุณ

 

1. วิตามินอี

เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญชนิดหนึ่ง ช่วยปกป้องความเสียหายของร่างกาย หากขาดวิตามินอี กล้ามเนื้อจะอ่อนแรงลง และระบบภูมิคุ้มกันก็จะอ่อนแอลงด้วย วิตามินอีมีอยู่ตามธรรมชาติในถั่ว เมล็ดพืช จมูกข้าวสาลี และเมล็ดทานตะวัน แต่หากคุณรับประทานวิตามินแบบเม็ดสังเคราะห์ ควรเว้นระยะห่างบ้าง เพราะการรับประทานแบบระยะยาว อาจทำให้เป็นพิษได้

 

2. วิตามินบี 1

มีอีกชื่อหนึ่งว่าไธอามีน ร่างกายคนเราใช้ประโยชน์จากวิตามินบี 1 หลายอย่าง หากขาดไป คุณอาจเสี่ยงกับการที่ระบบประสาทถูกทำลาย ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาอ่อนแรง และมีอาการปวด วิตามินบี 1 สำคัญมากต่อสุขภาพ โดยเฉพาะคุณแม่ที่ให้นมบุตร รวมถึงผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ก็ควรรับประทานวิตามินบี 1 เสริมด้วย หรือพยายามกินอาหาร เช่น ข้าวกล้อง ตับ เนื้อวัว เนื้อหมู ปลา ไข่ นม เต้าหู้ งา กระเทียม และถั่วต่าง ๆ เป็นต้น

 

3. วิตามินซี

มีผลจากงานวิจัยที่บ่งชี้ว่า วิตามินซีเป็นยาแก้ปวดตามธรรมชาติ และการรับประทานเป็นประจำทุกวัน จะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม วิตามินซีมีความสำคัญมากสำหรับระบบภูมิคุ้มกันโดยรวม หากได้รับวิตามินซีเพียงพอ ร่างกายจะต่อสู้กับไวรัส ที่อาจเป็นต้นเหตุของอาการปวด และเมื่อยล้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

4. วิตามินดี

เป็นวิตามินสำคัญอีกชนิด ที่ช่วยลดอาการปวดและเมื่อยล้าได้ ร่างกายของเราได้รับวิตามินดีจากแสงอาทิตย์ หรือจากอาหาร แล้วนำไปสร้างกระดูกให้แข็งแรงขึ้น ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดี ช่วยในการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ ถ้าขาดวิตามินดีร่างกายอาจมีอาการที่เรียกว่า โรคกระดูกน่วม (Osteomalacia) ซึ่งเป็นต้นเหตุ ของการปวดกล้ามเนื้อ และกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผลจากงานวิจัยยังบ่งชี้ด้วยว่าวิตามินดี บรรเทาความปวดเกร็งช่วงมีประจำเดือนได้

 

5. แมกนีเซียม

เป็นแร่ธาตุสำคัญ เมื่อร่างกายขาด จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ และเป็นตะคริวได้  แมกนีเซียมมีมากในผักใบเขียวโดยเฉพาะผักโขม เมล็ดฟักทอง โยเกิร์ตที่ไม่มีไขมัน ควินัว และข้าวกล้อง เป็นต้น

 

6. วิตามินบี 12

การได้รับวิตามินบี 12 อย่างเพียงพอ ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่าง และอาการเจ็บมุมปาก หรือที่เรียกว่า โรคปากนกกระจอก หากคุณกำลังมีอาการ 2 อย่างที่กล่าวมา ก็เป็นไปได้มากว่า กำลังขาดวิตามินบี 12 โดยเฉพาะผู้ที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ อาหารที่มีวิตามินบี 12 สูง เช่น ตับ ไต เนื้อ เนื้อหมู ปลาเค็ม ปลาหมึก น้ำปลา เนื้อแกะ ปลาเนื้อขาว หอย ไข่ นม เนย เนยแข็ง โยเกิร์ต ข้าวกล้อง  ถั่วเมล็ดแห้ง และผักใบสีเขียวแก่ เป็นต้น หรืออาจรับประทานเป็นวิตามินเสริมแบบเม็ดก็ได้

 

7. กลูโคซามีน

หากคุณทุกข์ทรมานอยู่กับอาการปวดข้อ ลองรับประทานกลูโคซามีน กลูโคซามีนเป็นส่วนผสมระหว่างกรดอะมิโนกลูตามีน และกลูโคส ซึ่งร่างกายสร้างขึ้นเองได้ แต่ในบางกรณีที่ต้องการเพิ่มมากกว่าปกติ ก็สามารถรับประทานเป็นแบบอาหารเสริมได้ด้วย

 

8. คอนดรอยติน

ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหูเท่าใดนัก คอนดรอยติน คือสารที่อยู่ในข้อต่อของร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณกระดูกอ่อน มีหน้าที่ทำให้ข้อต่อสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเป็นปกติ แต่เมื่ออายุมากขึ้น ข้อต่อและกระดูกอ่อนบริเวณข้อจะเริ่มเสื่อมสภาพ ทำเกิดอาการปวดข้อ ปวดเข่าได้ รวมทั้งอาการตาแห้ง แสบตา และโรคต้อ และยังบรรเทาผื่นในผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินอีกด้วย คอนดรอยตินพบมากในกระดูกปลาฉลาม กระดูกอ่อนของวัว อาหารทะเล แต่ก็สามารถรับประทานเป็นอาหารเสริมแบบเม็ดได้เช่นกัน สามารถรับประทานร่วมกับกลูโคซามีนได้ และอาหารเสริมทั้ง 2 ชนิดนี้ก็มีผลในการลดอาการปวดข้อ และบรรเทาข้ออักเสบด้วย

 

9. โอเมก้า 3

ถ้าคุณกำลังมีอาการเจ็บปวด ที่เกิดจากการบวมอักเสบ หรือมีอาการปวดศรีษะไมเกรน การรับประทานกรดไขมันโอเมก้า 3 อาจช่วยได้ โดยรับประทานน้ำมันปลาชนิดเม็ดเพิ่ม หรือเลือกรับประทานอาหารทะเลอย่าง ปลาซาร์ดีน แซลมอน กุ้ง หอยกาบ และหอยนางรม เป็นต้น รวมถึงเมล็ดแฟลกซ์ เมล็ดฟักทอง และวอลนัท ก็ได้เช่นกัน แต่หากคุณกำลังรับประทานยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด ก็ไม่ควรรับประทานโอเมก้า 3 นอกจากแพทย์จะเป็นผู้สั่ง

 

ลองเลือกรับประทานวิตามินเหล่านี้ตามความเหมาะสม เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด แต่นี่คือการรักษาอาการเบื้องต้น ที่เกิดจากการขาดวิตามินและแร่ธาตุเท่านั้น หากรับประทานแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ของคุณ เพื่อขอคำแนะนำเพิ่ม เพราะอาจมีอาการอื่นมากกว่านั้นซุกซ่อนอยู่

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา :  www.bythewayhealth.com
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก