Health4senior

ระบบหายใจ (Respiratory system)

ระบบหายใจ (Respiratory system) เป็นระบบที่นำอากาศซึ่งมีออกซิเจนเข้าสู่ปอด จากการหายใจเข้า เพื่อให้ร่างกายนำออกซิเจนไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญพลังงาน (Metabolism) ในขณะเดียวกันยังเป็นการรับเอาคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการดังกล่าว ส่งออกนอกร่างกาย จากการหายใจออก

 

อวัยวะที่เกี่ยวข้อง

  • ทางเดินหายใจส่วนบน ประกอบด้วย จมูกและปาก (Nose and Mouth) หลอดคอ (Pharynx) หลอดเสียง (Larynx) ขณะหายใจเข้า อากาศจะผ่านรูจมูก เข้าโพรงจมูก ที่โพรงจมูกจะมีเส้นขนและต่อมน้ำมันที่ช่วยกรองและจับฝุ่นละออง รวมถึงการปรับความชุ่มชื้นและอุณหภูมิอากาศให้เหมาะสม หลังจากนั้นอากาศจะผ่านหลอดคอและกล่องเสียง ด้านบนของกล่องเสียงจะมีฝาปิดกล่องเสียง ซึ่งจะปิดในระหว่างการกินอาหาร เพื่อไม่ให้อาหารตกเข้าสู่หลอดลม
  • ทางเดินหายใจส่วนล่าง ประกอบด้วย หลอดลม (Trachea) หลอดลมเล็กหรือขั้วปอด (Bronchus) ปอด (Lung) ซึ่งมีหลอดลมฝอย (Bronchiole) ถุงลม (Alveoli) เยื่อหุ้มปอด (Pleura) อากาศเมื่อผ่านกล่องเสียง จะเข้าสู่หลอดลมที่ซึ่งมีขนอ่อนขนาดเล็กและเยื่อเมือกคอยดักจับสิ่งแปลกปลอม ก่อนแยกเข้าสู่หลอดลมเล็กหรือขั้วปอดทั้งด้านซ้ายและขวา ที่ปอดหลอดลมเล็กจะลดขนาดเป็นหลอดลมฝอย และถุงลมในปอด โดยปอดแต่ละข้างจะมีถุงลมปอดประมาณ 300 ล้านถุง ล้อมรอบด้วยเส้นเลือดฝอยปอดซึ่งมีขนาดเล็กและบางเพียงพอในการแลกเปลี่ยนออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเป็นการเชื่อมต่อระหว่างระบบหายใจกับระบบไหลเวียนโลหิต
.

การทำงานของระบบหายใจ

ในขณะที่หายใจเข้า อากาศที่มีออกซิเจนจะไหล่ผ่านทางเดินหายใจส่วนบน เข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนล่าง ที่บริเวณถุงลมปอด ออกซิเจนจากถุงลมปอดจะแพร่เข้าสู่หลอดเลือดฝอยรอบ ๆ ถุงลมปอด และรวมตัวกับฮีโมโกลบิน (Haemoglobin; Hb) ที่ผิวของเม็ดเลือดแดง (Red blood cell) กลายเป็นออกซีฮีโมโกลบิล (Oxyhemoglobin; HbO2) ซึ่งมีสีแดงสด โดยเลือดที่มีออกซีฮีโมโกลบินนี้จะถูกส่งเข้าสู่หัวใจและสูบฉีดผ่านหลอดเลือดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ที่เนื้อเยื่อ ออกซีฮีโมโกลบินจะสลายให้ออกซิเจนและฮีโมโกลบิน โดยออกซิเจนจะแพร่จากหลอดเลือดฝอยเข้าสู่เนื้อเยื่อ และถูกนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญเพื่อให้พลังงานแก่เซลล์ของเนื้อเยื่อต่อไป

ในทางกลับกัน คาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการเผาผลาญ ก็จะแพร่จากเนื้อเยื่อเข้าสู่หลอดเลือดฝอย โดยผ่านขั้นตอนทางเคมีระหว่างการเดินทาง โดยเมื่อถึงบริเวณถุงลมปอด คาร์บอนไดออกไซด์จะแพร่จากเส้นเลือดฝอยจะแพร่เข้าสู่ถุงลมปอด และถูกขับออกจากร่างกาย ผ่านการหายใจออก

 

โรคที่เกี่ยวกับระบบหายใจ

ไข้หวัด  ไข้หวัดใหญ่   โรคหืด   หลอดลมอักเสบ   โรคปอดบวม   โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง   มะเร็งปอด
  • ไข้หวัด เป็นโรคติดเชื้อไวรัสในทางเดินหายใจส่วนบน ส่งผลต่อจมูก ปากและหลอดคอ อาการที่พบ เช่น คัดจมูก ไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหล มีไข้อ่อน ผู้ที่เป็นยังสามารถใช้ชีวิตได้เกือบปกติ ในกรณีที่มีการดูแลร่างกายและพักผ่อนให้เพียงพอ อาการมักจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์
  • ไข้หวัดใหญ่ อาการเบื้องต้นคล้ายไข้หวัดธรรมดา แต่จะมีไข้เด่น และมีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียจนไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้ โดยอาการอาจมีความรุนแรงและพัฒนาไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้ โรคนี้พบได้ตลอดปี โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูฝนต่อฤดูหนาว ซึ่งเชื้อก่อโรคไข้หวัดใหญ่จะแพร่ได้เป็นอย่างดี
  • โรคหืด บางครั้งเรียกหอบหืด เกิดจากการที่หลอดลมมีความไวต่อการกระตุ้นจากสารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งแวดล้อม โดยภายหลังถูกกระตุ้น จะทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อหลอดลม การบวมอักเสบของเยื่อบุภายในหลอดลม หรือการมีสารคั่งค้างอยู่ภายในหลอดลม ทำให้หลอดลมอักเสบ ตีบแคบ หายใจลำบาก และเป็นอันตรายกับผู้ป่วย
  • หลอดลมอักเสบ มีทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง โดยเกิดการอักเสบของเยื่อบุหลอดลม ทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ แสบคอ หายใจลำบาก และมีไข้ ทั้งนี้การอักเสบส่วนใหญ่พัฒนามาจากโรคติดเชื้อที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ โดยเฉพาะโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ ปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ เป็นต้น
  • โรคปอดบวม ปอดบวมเกิดจากการมีเชื้อโรคเข้าสู่เนื้อปอด โดยการหายใจหรือสำลักเอาเชื้อโรคเข้าไปในปอด หรือจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ทำให้เกิดอาการไอ มีเสมหะ มีไข้ เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย โรคนี้จะเป็นอันตรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กและผู้สูงอายุ
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เป็นโรคปอดชนิดเรื้อรัง โดยจะมีภาวะถุงลมโป่งพองและหลอดลมอักเสบเรื้อรังร่วมกัน อาการหลัก คือ หอบ ไอ หายใจลำบาก ติดเชื้อปอดบ่อย สาเหตุหลักของโรคเกิดจากการสูบบุหรี่ การรักษาเป็นการหยุดสาเหตุ และรักษาแบบประคับประคองตามอาการ
  • มะเร็งปอด เกิดจากการที่เซลล์ส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปอดมีความผิดปกติ และเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเนื้อร้าย ภายหลังมีการแพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นของร่างกาย ระยะแรงมักไม่แสดงอาการ ต่อมาผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง ไอปนเลือด หายใจเหนื่อยหอบ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด  ปวดหรือเจ็บขณะหายใจหรือไอ เป็นต้น

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.pobpad.com  www.haamor.com  th.wikipedia.org  www.meded.psu.ac.th    
ภาพประกอบจาก: www.shutterstock.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก