Health4senior

เรื่องน่ารู้ของชีพจร (Pulse)

ชีพจรเกิดขึ้นได้อย่างไร

ชีพจรเกิดจากการบีบตัวของหัวใจเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงทั่วร่างกาย ทำให้เกิดแรงดันมากระทบผนังของเส้นเลือด เป็นผลให้เส้นเลือดมีการหดและขยายตัวตามจังหวะการบีบตัวของหัวใจ ซึ่งเราสามารถคลำได้ตรงตำแหน่งที่เส้นเลือดแดงวิ่งผ่านหรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ชีพจรคือจังหวะการเต้นของหัวใจ

 

ชีพจรอยู่ตรงไหน

ชีพจรที่คลำได้ตามร่างกายนั้น จะพบว่ามักจะอยู่ตรงตำแหน่งที่เป็นส่วนข้อต่อของกระดูก เช่น ข้อมือ ข้อพับแขน ขาหนีบ ขมับ และคอ ในผู้ใหญ่นิยมจับชีพจรที่ข้อมือทางด้านหัวแม่มือ หรือที่แขนเพราะคลำได้ง่ายและสะดวก ในเด็กเล็กๆ ที่ข้อมือบางครั้งอาจจะคลำลำบากมาก ดังนั้นจึงนิยมคลำที่ขาหนีบเพราะที่ตำแหน่งขาหนีบจะเป็นตำแหน่งที่คลำได้ชัดทั้งผู้ใหญ่และเด็ก

 

วิธีจับชีพจร

ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. ให้ผู้ป่วยนั่ง หรือนอนพักหายเหนื่อยก่อนประมาณ 5-10 นาที
  2. ในท่านั่งให้ผู้ป่วยนั่งให้สบายที่สุดเหยียดแขนหรือข้อมือให้ตรง ที่แขนควรมีที่รองรับเพื่อให้รู้สึกสบายแขนไม่เกร็ง แต่ถ้าจับในท่าที่คนไข้นอนให้ผู้ป่วยนอนหงายแขนราบกับพื้นหงายฝ่ามือขึ้น
  3. วางนิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง บนตำแหน่งที่เส้นเลือดแดงผ่าน (ดังรูป) เช่น ที่ข้อมือด้านหัวแม่มือหรือข้อแขน เป็นต้น แล้วกดปลายนิ้วทั้งลงเบาๆ จับเวลา นับจำนวนครั้งในการเต้นของชีพจรนาน 1 นาที ในรายที่เต้นสม่ำเสมออาจจับเวลาเพียงครึ่งนาทีแล้วคูณสอง

.

ข้อควรระวัง

  1. ระวังอย่าใช้นิ้วหัวแม่มือจับชีพจรคนไข้ เพราะจะจับได้ชีพจรของผู้จับเอง เนื่องจากนิ้วหัวแม่มือมีเส้นเลือดใหญ่มาเลี้ยงนั่นเอง
  2. ไม่จับชีพจรในขณะที่คนไข้ตื่นเต้นหรือตกใจกลัว หรือภายหลังออกกำลังกายมาใหม่ๆ เพราะขณะนั้นชีพจรจะเต้นเร็วกว่าปกติ ควรรอให้ร่างกายอยู่ในสภาพปกติก่อน
  3. ควรใช้นาฬิกาที่มีเข็มวินาทีจับชีพจร เพราะสะดวกในการจับ
.

ควรจับชีพจรเมื่อใดบ้าง

  1. เมื่อมีอาการผิดปกติหรือเจ็บป่วยเกิดขึ้น เช่น เป็นไข้ตัวร้อน ปวดหัว ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องเดิน ซีด เหลือง อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก ฯลฯ
  2. เมื่อมีการเสียเลือด หรือประสบอุบัติเหตุ
  3. เมื่อรู้สึกว่าใจสั่น ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคทางกายจริงๆ หรือโรคทางใจ (โรคประสาท วิตกกังวลคิดมาก) ก็ได้
.

ชีพจรเต้นอย่างไร

  • ในคนปกติ ชีพจรจะเต้นแรงเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
  • ผู้ใหญ่ เต้นประมาณนาทีละ 60-80 ครั้ง
  • เด็ก เต้นประมาณนาทีละ 90-100 ครั้ง
  • ทารกแรกเกิด เต้นประมาณนาทีละ 120-130 ครั้ง จะเห็นว่าทารกแรกเกิดชีพจรเต้นเร็วมาก เมื่อยิ่งโตขึ้นอายุมากขึ้นชีพจรจะเต้นช้าลง แต่จะแรงเป็นจังหวะสม่ำเสมอ
.

การเต้นของชีพจรที่ผิดปกติ

การเต้นของชีพจรที่ผิดปกติ เกิดจากสาเหตุต่างๆ ได้หลายสาเหตุ การเต้นผิดปกติอาจเกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว นานๆ ครั้ง หรือเกิดขึ้นเป็นประจำ

เราลองมาพิจารณาการเต้นของชีพจรลักษณะต่างๆ ดังนี้
  1. ชีพจรที่เต้นแรงและเร็วกว่าปกติ เช่น ผู้ใหญ่เต้นนาทีละ 100-120 ครั้ง ชีพจรแบบนี้จะพบได้ในคนที่เป็นโรคและไม่เป็นโรคก็ได้
    • ถ้าการเต้นนั้นเกี่ยวข้องกับอาการเหนื่อยง่าย เวลาออกกำลังกายเพียงเล็กน้อยหรือว่าอยู่เฉยๆ หัวใจก็เต้นแรงผิดปกติ รู้สึกเจ็บหน้าอกบ่อยๆ เหนื่อยง่าย อาการที่เกิดขึ้นนี้มักพบในคนที่เป็นโรคหัวใจ
    • ถ้ามีอาการเหนื่อยง่าย กินจุ แต่ผอมลง คลื่นไส้อาเจียน คอโต หรือตาโปน ก็อาจเป็นโรคต่อมทัยรอยด์ (คอพอกเป็นพิษ)
    • คนที่มีไข้ตัวร้อน ก็อาจมีชีพจรเต้นแรงและเร็วได้ ตามปกติถ้าไข้ขึ้น 1 ฟ. (องศาฟาเรนไฮท์) ชีพจรจะเต้นเร็วขึ้นอีกนาทีละ 10 ครั้ง
    • คนที่ซีดโลหิตจาง หรือได้รับยาบางตัว (เช่น ฮะดรีนาลีน ฉีดแก้หืด) ก็มีชีพจรที่เต้นเร็วได้
    • ในคนที่ร่างกายเป็นปกติ ชีพจรก็อาจเต้นเร็วได้ แต่มักจะมาจากสาเหตุต่างๆ เช่น ออกกำลังอายมาใหม่ๆ ตื่นเต้น ตกใจกลัว แต่เมื่อได้พักหัวใจก็จะเต้นเป็นปกติเหมือนเดิม
  2. ชีพจรที่เต้าช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที
    • บางรายอาจไม่แสดงอาการ แต่บางรายก็มีอาการหน้ามืด วิงเวียนเป็นลมได้ มักพบในคนที่มีความผิดปกติของหัวใจ
    • คนไข้ที่มีก้อนเลือดในสมอง (เช่น ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ) หรือมีสาเหตุอะไรก็ตามที่ทำให้ความดันภายในกะโหลกศีรษะเพิ่มขึ้น ก็อาจมีชีพจรเต้นช้าลงได้
    • ในคนที่เป็นนักกีฬาที่มีร่างกาย “ฟิต” เต็มที่ก็จะพบว่าชีพจรเต้นค่อนข้างช้า แต่มีแรงและสม่ำเสมอดีชีพจรแบบนี้เราถือเป็นสิ่งที่ดีมาก
  3. ชีพจรเต้นเบาและเร็ว พบในคนที่เป็นลม ช็อก ท้องเดินมากๆ ท้องนอกมดลูก กระเพาะทะลุ ถ้าชีพจรในลักษณะนี้รีบให้การปฐมพยาบาลแล้วส่งโรงพยาบาลโดยด่วน
  4. ชีพจรที่เต้นไม่สม่ำเสมอ
    • ถ้าเป็นตลอดเวลา จะพบในคนที่เป็นโรคหัวใจ คอพอกเป็นพิษ
    • ในคนปกติ บางครั้งชีพจรก็เต้นไม่สม่ำเสมอเป็นครั้งเป็นคราวได้ ซึ่งเป็นผลมาจากร่างกายได้รับยาและสารเคมีบางชนิดเข้าไปในร่างกาย เช่น เหล้า บุหรี่ กาแฟ หรือแม้แต่ถ้าพักผ่อนไม่เพียงพอเคร่งเครียด ก็ทำให้ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอได้

ขอให้ท่านลองฝึกจับชีพจรกันดู เมื่อจับแล้วไม่แน่ใจว่า เต้นปกติหรือผิดปกติหรือไม่ ท่านอาจจะขอคำแนะนำจากหมอที่ใกล้บ้านท่าน ต่อๆ ไปเมื่อท่านจับชีพจรบ่อยๆ ครั้ง จะเกิดความชำนาญขึ้นสามารถจะแยกออกว่าเต้นปกติหรือผิดปกติได้ จะเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านเอง และทุกๆ คนในบ้าน เมื่อเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ดังที่กล่าวเป็นข้อๆ ไว้นั้น จะสามารถป้องกันอันตรายขั้นรุนแรงที่จะเกิดกับผู้ป่วยได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก นิตยสารหมอชาวบ้าน  เล่มที่: 3, กรกฎาคม 2522, www.doctor.or.th
ผู้เขียน: ลลิตา อาชานานุภาพ
ภาพประกอบจาก: www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก