Health4senior

ปวดหลัง (Back pain) เรื่องใกล้ตัวที่เกิดได้กับทุกคน

อาการปวดหลัง (Back pain) แบ่งเป็น 2 แบบ

อาจพบเพียงแบบใดแบบหนึ่ง หรือ พบร่วมกันก็ได้
  1. ปวดเฉพาะบริเวณแผ่นหลังหรือสะโพก (ก้น)
  2. ปวดร้าวลงขา (น่อง เท้า) ขาชา ขาอ่อนแรง ซึ่งเกิดจากการกดทับเส้นประสาท
.

สาเหตุที่ทำให้ปวดหลัง 

  1. ความผิดปกติตั้งแต่กำเนิด ความผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่กำเนิด อาจทำให้เกิดอาการปวดหลังตั้งแต่วัยเด็ก หรืออาจจะมาแสดงอาการในขณะที่อายุมากแล้วก็ได้ ซึ่งเป็นเพราะความเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นในภายหลัง โรคที่พบบ่อยในกลุ่มนี้ได้แก่ โรคกระดูกสันหลังคด ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายจากมี หลังเอียง หลังคด กระดูกสะบักสองข้างสูงไม่เท่ากัน หน้าอกสองข้างนูนไม่เท่ากัน การรักษาโรคหลังคดมีรายละเอียดมาก ขึ้นอยู่กับความรุนแรงที่เป็น อายุของผู้ป่วย เช่น การออกกำลังกายกล้ามเนื้อใส่เฝือกหลังผ่าตัดกระดูกสันหลัง การเลือกวิธีรักษาจะแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน
  2. การใช้งานหลังไม่เหมาะสม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้บ่อยที่สุด แบ่งได้เป็นสองกลุ่ม คือ
    • อาการปวดหลังจากกล้ามเนื้อ จะมีอาการปวด หลังแข็งเกร็ง ขยับเขยื้อนหลังไม่ได้ อาจมีอาการตัวเอียง เดินลำบาก
      • กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น อักเสบ จากท่าทางที่ไม่ถูกต้อง ไม่ได้ออกกำลังกาย หรืออ้วน มักจะเป็นเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ
      • กล้ามเนื้อเคล็ด กล้ามเนื้อฉีกขาด จากการเคลื่อนไหวที่ไม่ถูกต้อง หรืออุบัติเหตุ มักจะเป็นเฉียบพลันทันที
      • พังผืดยึดกล้ามเนื้อหรือเส้นประสาท จะมีจุดกดเจ็บชัดเจนที่หลังหรือสะโพก และอาจมีร้าวลงขาร่วมด้วย
    • หมอนรองกระดูกส่วนเอวกดทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูก เป็นตัวทำให้เกิดความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลัง และให้ความมั่นคงแข็งแรงกับสันหลัง เมื่ออายุมากขึ้น ส่วนประกอบที่เป็นน้ำภายในหมอนรองกระดูกจะลดลง ทำให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นลดลง ถ้ามีแรงมากระทำต่อหมอนรองกระดูกในลักษณะเฉียง ๆ (ซึ่งมักจะเกิดในท่าก้มลงยกของหนัก) จะทำให้หมอนรองกระดูกแตก ทำให้ปวดหลัง แต่ถ้าหมอนรองกระดูกที่แตกไปกดทับเส้นประสาท จะทาให้เกิดอาการปวดหลัง ร่วมกับมีอาการปวดร้าวไปที่ขา ขาชา หรือขาอ่อนแรง ร่วมด้วย
      แนะนำอ่าน วิธีรับมือ 14 อาการปวดที่พบได้บ่อย
  3. การติดเชื้อ การติดเชื้อที่กระดูกสันหลังส่วนเอว มีสาเหตุคือเชื้อแบคทีเรียกระจายมาตามกระแสเลือดแล้วไปที่กระดูกสันหลัง ทำให้มีไข้ขึ้น และมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง แต่ถ้าเป็นเชื้อวัณโรค ซึ่งอาการจะค่อยเป็นค่อยไป อาการปวดหลังเพิ่มขึ้นทีละน้อย มีไข้ต่ำ ๆ ในตอนบ่าย น้ำหนักลดลง ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องก็จะทำให้หลังโก่ง อาจเป็นอัมพาตได้
  4. กระดูกสันหลังเสื่อม อาจแบ่งอาการ ของกระดูกสันหลังเสื่อม เป็น
    • ระยะข้อต่อหลวม ความแข็งแรงของข้อต่อกระดูกสันหลังลดลง ทำให้มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อมากขึ้น ข้อต่อหลวม มักจะมีอาการปวดเวลาขยับตัวเปลี่ยนท่าทาง เช่น นอนแล้วลุกขึ้นลำบาก แต่ถ้าอยู่นิ่ง ๆ จะไม่ค่อยปวด
    • ระยะข้อติดแข็ง กระดูกงอก ซึ่งเป็นระยะต่อมาที่ร่างกายมีกระบวนการซ่อมแซมตัวเองโดยการสร้างหินปูนมายึดเกาะข้อต่อให้แข็งแรงขึ้น อาการปวดที่เกิดขึ้นเนื่องจากข้อต่อหลวมก็จะหายไป แต่ถ้าหินปูนที่ร่างกายสร้างขึ้นมานั้นมีมากเกินไป จนกดทับเส้นประสาท ทำให้เกิดอาการปวดหลังเมื่อเริ่มออกเดินไปได้สักระยะหนึ่ง อาการปวดและชาที่ขาจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนต้องหยุดเดิน เมื่อนั่งพักอาการจะดีขึ้น ระยะทางที่เดินได้โดยไม่ปวดจะสั้นลงเรื่อย ๆ ตามความรุนแรงของโรค
  5. สาเหตุอื่น เช่น ความเครียด ไต อักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ แผลในกระเพาะอาหาร ปอดติดเชื้อ หัวใจขาดเลือด  กระดูกแตกยุบตัวจากโรคกระดูกพรุน โรคกระดูกสันหลังยึดติด (AS) เป็นต้น
.

แนวทางวินิจฉัย

ส่วนใหญ่วินิจฉัยได้จากการถามประวัติและตรวจร่างกาย ไม่ต้องถ่ายภาพรังสี เอกซเรย์ ยกเว้น อาการมาก หรือ รักษาแล้วไม่ดีขึ้น แต่เอกซเรย์ทั่วไป จะเห็นเฉพาะกระดูก ไม่เห็นกล้ามเนื้อ หมอนรองกระดูก เส้นประสาท บางกรณีจึงต้องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) เอกซเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือฉีดสีเข้าสันหลัง (Myelogram)

 

แนวทางรักษา

  • ลดน้ำหนัก งดเหล้า งดบุหรี่ ปรับเปลี่ยนท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันให้เหมาะสม
    แนะนำอ่าน ไลฟ์สไตล์กับพฤติกรรมเสี่ยงในการดำเนินชีวิต
  • นอนพัก แต่ไม่ควรพักนานเกินกว่า 2 – 3 วัน เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อลีบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง
    แนะนำอ่าน ความรู้เรื่อง การนอนหลับ
  • ประคบด้วยความเย็นหรือความร้อน เช่น น้ำแข็งใส่ในถุงพลาสติกแล้วห่อด้วยผ้า หรือผ้าขนหนูชุบน้ำอุ่นประคบ 10 – 15 นาที หรือประคบร้อน 4 นาที สลับเย็น 1 นาที อาจใช้ครีมนวดร่วมด้วยได้ แต่ต้องระวังอย่านวดแรง
    แนะนำอ่าน รู้ได้อย่างไรว่าต้อง ประคบร้อนหรือประคบเย็น
  • ยา เช่น ยาบรรเทาปวดลดอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ วิตามินบำรุงเส้นประสาท
  • กายภาพบำบัด เช่น นวด ดึงหลัง อบหลัง บริหารกล้ามเนื้อ เครื่องรัดหลัง (ไม่ควรใส่นานเพราะกล้ามเนื้อจะลีบ)
  • การบริหารกล้ามเนื้อหลังและหน้าท้อง ให้แข็งแรง
  • การผ่าตัด ถือว่าเป็นวิธีรักษาวิธีสุดท้าย เมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น ปวดมากจนรบกวนต่อการดาเนินชีวิตประจาวัน และรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วไม่ดีขึ้น หรือไม่สามารถกลั้นอุจจาระ ปัสสาวะ
.

ข้อแนะนำในการดำเนินชีวิตประจำวัน

  • การนอน : เตียงนอน มีความสูงระดับข้อเข่า ที่นอนมีเนื้อแน่น คือเมื่อนอนแล้วลุกขึ้น ที่นอนจะคืนรูปดังเดิม ไม่ยุบ

ไม่ควรนอนคว่ำ

ควรนอนตะแคงกอดหมอนข้าง หรือ
นอนหงาย มีหมอนหนุนใต้โคนขา

 

การลุกจากที่นอน ให้เลื่อนตัวมาใกล้ขอบเตียง ตะแคงตัว
งอเข่าและสะโพก ห้อยขาลงข้างเตียง ใช้มือยันตัวลุกขึ้นนั่ง

 

  • การนั่ง : เก้าอี้ 
    • ความสูงระดับข้อเข่า ส่วนรองนั่ง มีความลึกที่จะรองรับสะโพกและต้นขาได้พอด
    • พนักพิง เอนไปข้างหลังเล็กน้อย ประมาณ 10 องศา และ มีที่เท้าแขน

นั่งหลังตรงแนบกับพนักพิง ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง นั่งชิดขอบในเก้าอี้
เท้าวางราบกับพื้นเข่างอตั้งฉาก ต้นขาวางราบกับที่นั่ง
ข้อพับเข่าอยู่ห่างจากขอบเก้าอี้ ประมาณ 1 นิ้ว อาจใช้หมอนรองหลังด้วย

 

  • นั่งขับรถ
    • หลังและสะโพกแนบกับพนักพิง พนักพิงเอนไปข้างหลัง 10 องศา
    • ขยับเบาะนั่งให้มีระยะพอเหมาะ (เมื่อเหยียบคันเร่งหรือเบรกเต็มที่ เข่าจะงอเล็กน้อยประมาณ 30 องศา เข่าจะสูงกว่าสะโพก)

  • การยืน : หลังตรง กางขาออกเล็กน้อย น้ำหนักลงที่ส้นเท้าทั้งสองข้าง ไม่ควรสวมรองเท้าส้นสูงมากกว่า 5 นิ้ว
    ถ้ายืนนาน ควรขยับเปลี่ยนท่า ยืนลงน้ำหนักบนขาข้างใดข้างหนึ่งสลับกัน หรือสลับเท้าวางบนที่สูง (ประมาณ 6 นิ้ว)
  • การยกของหรือวางของ : พยายามให้หลังตรงอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรก้มหลังในท่าที่เข่าเหยียดตรง

ยกของ : งอเข่านั่งยอง ยกของชิดลำตัว แล้วลุกยืน

.

หมุนตัว ดีกว่า เอี้ยว

.

หันหลังดัน ดีกว่า ผลักหรือดึง

 

วิธีบริหาร กล้ามเนื้อ หน้าท้อง สะโพกและหลัง

  • เริ่มบริหาร หลังจากอาการปวด เริ่มทุเลา ในช่วงแรก ให้เริ่มบริหารเฉพาะท่าที่ 1 – 4 เท่านั้น
  • ถ้าปวด พอทนได้ ค่อยเพิ่มท่าที่ 5 – 8 (ท่าที่ 1 – 8) ถ้าไม่ปวดหลัง จึงบริหารครบทั้งหมด ( ท่าที่ 1 – 13)
  • ถ้าบริหารแล้วปวดมากขึ้น ให้ลดจานวนครั้ง หรือหยุดบริหารท่านั้นไว้ก่อน ไม่ควรเร่งรีบหรือทำอย่างรุนแรง
  • บริหารทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 – 3 รอบ (ถ้าไม่ปวด อาจทาเพิ่มขึ้นเป็น 10 – 20 รอบ) ควรทำต่อเนื่อง 3 – 4 เดือน
  • ท่าเริ่มต้น นอนหงาย งอสะโพก งอเข่าตั้งฉาก แขนวางราบกับพื้น

.

ดึงเข่าชิดหน้าอก ทีละข้าง ค้างไว้นับ 1- 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ดึงเข่าสองข้างชิดหน้าอกพร้อมกัน ค้างไว้นับ 1- 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

บิดสะโพกและเข่า ทั้งสองข้าง ซ้าย – ขวา ค้างไว้นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ยกขา สูงที่สุด ค้างไว้นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

แอ่นหลังขึ้น มากที่สุด ค้างไว้นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ยกหลังและสะโพกขึ้น มากที่สุด ค้างไว้นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ยกศีรษะขึ้น เอามือแตะที่เข่า ค้างไว้นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

แอ่น – โก่งหลัง มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ยกขา ไปด้านหลัง แล้วค้างไว้นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

 

ถ้าไม่ปวด ให้ยกขา พร้อมกับยกแขนด้านตรงข้าม
ไปข้างหน้า ค้างไว้นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

แอ่นหลัง เอามือดันจนศอกเหยียดตรง ค้างไว้นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ยกขา สูงที่สุดเท่าที่จะทาได้ ค้างไว้นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ยกศีรษะและหน้าอก สูงที่สุด ค้างไว้ นับ 1 – 5 ทำซ้ำ 10 ครั้ง

ท่าบริหารเพิ่มเติม บริหาร ท่าละ 5 – 10 ครั้ง ทำบ่อย ๆ ทุก 1- 2 ชั่วโมง

 

ภาพประกอบจาก: www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก