Health4senior

วัยซีเนียร์แล้วนะ! ใช้โซเชียล อย่างไรให้ฉลาด

ถ้าพูดถึงวัยซีเนียร์ใน พ.ศ. นี้ ก็จะเป็นคนในกลุ่มยุค Baby boomer และ Gen X รวมถึง Gen Y ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่กลุ่มวัยทองในอีกไม่ช้า ซึ่งเราคงเห็นเป็นลำดับจากคนใกล้ตัวว่ามีไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนไป วันหนึ่งคุณพ่อชอบแชร์โพสบนหน้า Facebook ข่าวอะไรบ้างก็ไม่รู้ล่ะ…หรืออีกวันคุณแม่ก็ขยันส่ง Line สวัสดีตอนเช้าพร้อมสีสันประจำวัน ซึ่งลูก ๆ อาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าพวกท่านเอามาจากแหล่งไหน พฤติกรรมนี้จะว่าน่ารักก็ใช่ แต่จะว่าเสี่ยงก็ใช่อีกเช่นกัน ดังนั้นการรู้เท่าทันเทคโนโลยีและความเสี่ยงที่มาพร้อมกับยุคสมัยซึ่งเปลี่ยนไป จะช่วยให้คนกลุ่มซีเนียร์สามารถท่องโลกโซเชียลได้อย่างดีมากขึ้น

 

1. เข้าใจถึงจุดเด่นของแต่ละอย่าง

โซเชียลมีเดียแต่ละค่ายมีเอกลักษณ์แต่ต่างกันไป อย่าง Instagram ใช้สำหรับการเล่าเรื่องโดยรูปภาพเป็นหลัก ดังนั้นจึงไม่ควรโพสข้อความยาวมากเกินไป สำหรับ Twitter ควรเน้นที่คำคม ความคิดเห็น หรือถ้อยคำสร้างแรงบันดาลใจ ไม่ควรโพสด้วยความรุนแรง คำหยาบ เพราะเป็นช่องทางที่สามารถรีทวีตได้เร็วมาก และอาจส่งผลเสีย ย้อนกลับมาทำร้ายภาพลักษณ์ได้ภายหลัง ส่วน Facebook ก็เช่นเดียวกัน ควรเน้นเล่าเรื่องต่าง ๆ ในชีวิต เช่น งานอดิเรก การทำงาน ชีวิตประจำวัน ไม่ควรใช้เป็นพื้นที่ด่าทอ เนื่องจาก Facebook อาจไม่ใช่พื้นที่ส่วนตัวอย่างที่คุณคิด ลองนึกดูว่าคุณอาจต้องการให้คนอื่นรู้แค่ 4-5 คนเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงคุณมีเพื่อนอยู่ในเพจของตัวเอง 500 คน เพียงเท่านี้ก็ดูไม่เป็นมืออาชีพ และไม่มีวุฒิภาวะแล้วหากคุณทำอะไรบุ่มบ่ามเกินไป

 

2. อ่านให้ละเอียดก่อนโพสหรือแชร์

ต้องทำความเข้าใจว่าในยุคนี้เต็มไปด้วยข่าวลวงมากมาย ดังนั้นก่อนที่จะแชร์บทความอะไรอย่าอ่านแต่เพียงพาดหัว ควรกดเข้าไปดูเนื้อหาข้างในจริง ๆ ก่อนว่าเป็นเช่นไร ไม่อย่างนั้นคุณอาจกลายเป็นเหยื่อของพวกเว็บไซต์สายมืดแบบนี้ได้ สำหรับพวกแชร์ข่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ดวง เรื่องแปลก หรือเคสคนพิการ ที่อ้างว่าแชร์ได้บญ 1 โพส 1 บาท ก็เช่นเดียวกัน ควรใช้วิจารณาญาณให้หนัก ก่อนแชร์ยั้งคิดซักนิดกว่าใครเป็นสปอนเซอร์…ไม่เช่นนั้นคุณก็จะกลายเป็นเหยื่อของพวกเพจสายมืดที่ปั๊มยอดไลค์ในเพจเพื่อนำไปขายเช่นเดียวกัน

 

3. อย่ากดรับลิ้งค์แปลก ๆ

เรื่องนี้มีข่าวออกมาเตือนหลายครั้ง ทั้ง Facebook หรือ Line ที่ถือเป็นโซเชียลมีเดียยอดนิยม ซึ่งพวกมิจฉาชีพมักมาใน 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ อย่างแรกมาในแบบให้อัพเดตแอปพลิเคชั่นที่คุณใช้อยู่ ควรตรวจสอบให้ดีว่าชื่อคนส่งสะกดถูกหรือไม่ อย่ามองผ่านเพียงแค่สัญลักษณ์เหมือนอย่างเดียวเท่านั้น เพราะคุณอาจถูกโจรกรรมข้อมูลส่วนตัวได้ รูปแบบที่สองคือการมาในลักษณะของแจกฟรี เช่น Line จะเห็นบ่อยมากพวกลิ้งแจกเหรียญไลน์ฟรี แจกสติกเกอร์ฟรี ซึ่งพวกนี้คือไวรัส ที่เมื่อคุณกดโหลดของฟรีมา มันก็จะฝังตัวแล้วคอยขโมยข้อมูลในเครื่องสมาร์ทโฟนของคุณ ดังนั้นหากอยากได้ของฟรีจากไลน์ ควรกดเข้าไปโหลดในช่องทางร้านค้าของไลน์เท่านั้น จะมีหมวดของแจกฟรีแยกอยู่ อย่าไปกดรับเป็นลิ้งที่ส่งตามกลุ่มเด็ดขาด

 

4. อย่าเห็นแก่อารมณ์ชั่ววูบ

ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ของโซเชียลมีเดียประเภทใดก็ตาม ควรละเว้นคำหยาบ และไม่ควรใช้เป็นพื้นที่โต้ตอบด่าทอกัน อย่างแรกคือเป็นเรื่องของกฏหมาย ซึ่งแน่นอนว่าคุณผิด พรบ.คอมพิวเตอร์เข้าไปเต็ม ๆ ไม่ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะจริงหรือไม่ คุณไม่มีสิทธิโพสประจานเด็ดขาด และอย่างที่สองคือเรื่องภาพลักษณ์ เมื่อคุณอายุเยอะแล้ว เป็นพนักงานอาวุโสในสายงานของตัวเอง หรือบางคนอาจเป็นเจ้าของกิจการ คงไม่สนุกแน่หากวันหนึ่งเกิดมีคนแคปภาพที่คุณโพสด้วยความคะนอง หยาบคาย ดูถูก ด่าทอคนอื่นเอาไว้ เราก็เห็นตัวอย่างชัดเจนจากข่าวเจ้าของร้านขายอาหาร ที่โพสนินทาลูกค้าใน FB ส่วนตัวแล้วว่าพังแค่ไหน

 

5. อย่าเล่นแอปพลิเคชั่นทายใจ

อีกหนึ่งความฮิตบนโซเชียลมีเดียลคือแอปพลิเคชั่นทายใจ ประเภทที่ทายว่าชาติที่แล้วคุณเกิดเป็นอะไร ชื่อของคุณมีความหมายแบบไหน คุณจะมีอนาคตอย่างไร ฯลฯ เคยสงสัยหรือไม่ว่าคนทำของพวกนี้ทำเพื่ออะไร ของฟรีแบบนี้ไม่น่าจะได้ค่าตอบแทน…จริง ๆ แล้วพวกเขาได้ค่าตอบแทนก็คือข้อมูลส่วนตัวของคุณนั่นเอง ทุกครั้งที่คุณกดยอมรับเล่นแอปพลิเคชั่นเหล่านี้ น้อยรายที่จะเข้าไปอ่านที่ต้นทางของแหล่งแพร่กระจายเกมทายใจว่าได้ให้สิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัว

 

6. ควรมีโปรแกรมป้องกันความปลอดภัย

ไม่ว่าจะใช้สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ แล็ปทอป หรือไอแพดต่าง ๆ ก็ไม่ควรมองข้ามโปรแกรมป้องกันไวรัสเด็ดขาด หลายคนอาจยังมีความเชื่อแบบเก่า ๆ ว่าหากไม่ได้เข้าเว็บไซต์สุ่มเสี่ยงก็ไม่จำเป็นต้องมีโปรแกรมสแกนไวรัส แต่ในปัจจุบันนี้ เพียงแค่คุณกดเข้าแอปพลิเคชั่นทายใจแบบข้อที่แล้วก็ถือว่าเสี่ยงแล้ว ยิ่งคนที่ทำธุรกรรมออนไลน์ พวก I-banking ต่าง ๆ ก็ควรต้องระวังด้วยเองด้วย ควรซื้อโปรแกรมป้องกันมาติดไว้ และตั้งรหัสความปลอดภัยล็อกเครื่องใช้เสมอ

 

7. ว่าด้วยการทักทาย

วัยซีเนียร์หลายคนอาจเคยชินกับการส่งสวัสดีทักทายตอนเช้า หรือส่งข้อความต่าง ๆ ที่เข้าใจว่าเป็นความรู้วันละหลายเวลา แต่ที่จริงแล้ว ไม่ใช่ทุกคนที่จะยินดีกับข้อความลักษณะนี้ เราแนะนำว่าข้อความสวัสดีตอนเช้า ควรส่งเฉพาะบุคคลในครอบครัวเป็นช่องทางส่วนตัว หากต้องการส่งให้คนอื่น ควรส่งในกลุ่มใหญ่รอบดียวต่อวัน  ไม่ควรจี้ส่งรายตัว สำหรับข้อความความรู้ต่าง ๆ ก็เช่นกัน หากคุณเห็นว่ามีประโยชน์ ควรสละเวลาอ่านด้วยตัวเองก่อน 1 รอบเพื่อคัดกรอง หากลงท้ายบทความมีข้อความลักษณะเป็นลูกโซ่ หรือข้อความเชิงไม่ส่งแล้วแสดงว่าไม่หวังดี ฯลฯ ก็ไม่ควรส่งไป เพราะไม่ว่าข้อมูลจะมีประโยชน์แค่ไหน แต่จะทำให้คุณดูไม่น่าเชื่อถือทันทีเมื่อมีลงท้ายจำพวกนี้ หรือถ้าอยากจะส่งให้ได้จริง ๆ ควรคัดลอกข้อความมาเรียบเรียงใหม่ ตัดส่วนที่ไม่สมควรออกให้เรียบร้อยแล้วค่อยส่งในกลุ่มครั้งเดียวเท่านั้น ไม่ควรจี้ส่งรายตัวเช่นเดียวกัน

 

เรียบเรียงโดย : กองบรรณาธิการ
ภาพประกอบจาก : www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก