Health4senior

หากปวดไหล่ (Shoulder pain) อ่านเรื่องนี้เลย

สาเหตุที่พบบ่อย

  1. อุบัติเหตุ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อฉีกขาด เส้นเอ็นขาด กระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน
  2. การใช้งานอย่างไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการอักเสบของเส้นเอ็นและกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อฉีกขาด
  3. ความเสื่อมตามธรรมชาติของกระดูก กล้ามเนื้อ และเส้นเอ็น พบบ่อยในผู้สูงอายุ
  4. โรคข้ออักเสบ ทำให้มีข้อไหล่อักเสบร่วมด้วย เช่น รูมาตอยด์ เกาต์ แคลเซียมเกาะเส้นเอ็น เป็นต้น
  5. อาการปวดไหล่ ซึ่งเป็นผลของอาการปวดร้าวมาจากที่อื่น (ไม่ได้เกิดจากข้อไหล่) เช่น กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อหลังอักเสบ ไมเกรน ความเครียด โรคปอด ถุงน้าดีอักเสบ หัวใจขาดเลือด โรคตับ เป็นต้น
  6. ข้อไหล่ติด พบบ่อยในผู้สูงอายุ ที่ไม่ได้ขยับเคลื่อนไหวข้อไหล่ จนเกิดพังผืดแทรกในข้อและกล้ามเนื้อมักปวดตอนกลางคืน ถ้าเคลื่อนไหวจะปวดมากขึ้นแต่อยู่นิ่งไม่ปวด ไม่มีข้อบวมแดงร้อน ไม่มีจุดกดเจ็บ
.

วิธีรักษาเบื้องต้น

  1. หยุดพักการใช้ข้อไหล่ โดยงดยกของหนัก งดเคลื่อนไหวแขนหรือไหล่ในท่าที่ทำให้ปวด อาจใช้ผ้าคล้องแขนไว้ แต่ไม่ควรหยุดใช้ไหล่เกิน 2 – 3 วันเพราะจะทำให้เกิดภาวะข้อไหล่ติดได้
  2. ประคบด้วยความร้อน โดยใช้ถุงน้าร้อน ผ้าขนหนูชุบน้าอุ่น หรือ ใช้ยานวด
  3. ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาพาราเซตามอล ยาแก้ปวดลดอาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ
  4. บริหารกายภาพบำบัด จะช่วยลดอาการปวด และทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้น
    แนะนำอ่าน รู้ได้อย่างไรว่า ประคบร้อนหรือประคบเย็นดี
.

อาการที่ควรตรวจหาสาเหตุ หรือส่งต่อแพทย์เฉพาะทาง

  1. มีอาการตึงขัดข้อไหล่ เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ นานกว่า 2 อาทิตย์
  2. มีอาการชาของแขน หรือมือ ปลายนิ้วเย็น
  3. อาการเป็นมากขึ้น รักษาแล้วไม่ดีขึ้น โดยเฉพาะอาการปวดในขณะพัก ปวดตอนกลางคืน
  4. มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ก้อน ไข้ เบื่ออาหาร น้าหนักลด ต่อมน้าเหลืองโต เป็นต้น
.

ข้อแนะนำวิธีบริหารข้อไหล่

  1. เริ่มบริหาร หลังจากอาการปวด ลดลงแล้ว เริ่มด้วยจานวนครั้งน้อย ๆ เช่น ลองทำท่าที่ 1 – 3 ก่อน ถ้าไม่ปวดก็ทำเพิ่มเป็นท่าที่ 1 – 5 แล้วถ้าไม่ปวดก็ค่อยทำจนครบทั้งหมด ควรทำอย่างสม่ำเสมอทุกวัน ยิ่งบ่อยยิ่งดี
  2. ขณะบริหาร ถ้าปวดมาก ก็ให้ลดจำนวนครั้งลง หรือหยุดบริหารท่านั้นไว้ก่อน เมื่ออาการปวดดีขึ้น จึงค่อยเพิ่มจำนวนขึ้น อย่าหักโหมหรือทำอย่างรุนแรง รวดเร็ว เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงกว่าเดิม

สาหรับโรคข้อไหล่ติด ขณะบริหาร จะต้องปวด มากขึ้น (เพื่อให้พังพืดในข้อไหล่ยืดออกจากกัน) ดังนั้นต้องพยายามทนปวดให้มากที่สุด ถ้าบริหารแล้วไม่ปวด แสดงว่าไม่ถูกวิธี ไม่ได้ผล แต่ถ้าปวดมาก (หยุดพักเกิน 2 ชั่วโมงยังปวดมากอยู่) ให้ปรับลดลง การรักษาต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะหายเหมือนปกติ

แนะนำอ่าน วิธีรับมือ 14 อาการปวดที่พบได้บ่อย

 

วิธีบริหารข้อไหล่

  1. เหวี่ยงแขนเป็นวงกลม ค่อย ๆ หมุนเป็นวงกว้างมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำ 10 เที่ยว ยืนก้มเล็กน้อย (ใช้มืออีกข้างจับโต๊ะเพื่อช่วยพยุงตัว) หรือนอนคว่าอยู่บนเตียงถ้าไม่ปวดมาก อาจถือน้ำหนัก 1 – 2 กิโลกรัม เพื่อช่วยให้หมุนได้ง่ายขึ้น
  2. ท่าหมุนข้อไหล่ ทำซ้ำ 10 เที่ยว
  3. ท่ายกแขน ศอกเหยียดตรง ยกสูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 เที่ยว
  4. ท่ายกไม้ ยกสูงมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำ 10 เที่ยว
  5. ท่านิ้วไต่ผนัง ให้สูงมากที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ ทำ 10 เที่ยว
  6. ท่าชักรอก นาเชือกคล้องผ่านรอกเหนือศีรษะทางด้านหน้า จับปลายเชือกทั้งสองข้าง
  7. ท่าใช้ผ้าถูหลัง มือที่อยู่ด้านบนดึงผ้าขึ้นให้มากที่สุด ค้างไว้ นับ 1 – 10

 

ภาพประกอบจาก: www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก