Health4senior

ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis Knee)

โรคข้อเสื่อม จะมีพยาธิสภาพหลักอยู่ที่ กระดูกอ่อน (articular cartilage) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น กระดูกอ่อนผิวข้อบางลงและขรุขระ กระดูกงอกบริเวณขอบข้อ และน้ำไขข้อมีการสูญเสียคุณสมบัติ ทำให้มีปริมาณมากขึ้น แต่ความยืดหยุ่นลดลง เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากกระบวนการเสื่อมจะไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจทวีความรุนแรงขึ้นตามลำดับ

มีปัจจัยเกี่ยวข้อง เช่น อายุ (พบบ่อยเมื่ออายุเกิน 40 ปี) น้าหนักตัวมาก เพศ (ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 3 เท่า) การใช้ข้อไม่เหมาะสม อุบัติเหตุ กระดูกหัก เส้นเอ็นฉีกขาด ติดเชื้อในข้อ เป็นต้น

 

อาการ

อาการและอาการแสดง อาจพบเพียงอาการเดียว หรือหลายอาการพร้อมกันก็ได้ ในระยะแรก อาการจะไม่มาก และเป็นๆ หาย ๆ แต่เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่ง ก็จะมีอาการมากขึ้น หรือเป็นตลอดเวลา เช่น

  • ปวดเข่า มักจะระบุตำแหน่งไม่ได้ รู้สึกเมื่อยตึงที่น่อง ข้อพับเข่า มีเส้นเอ็นอักเสบ ทาให้ปวด กดเจ็บ ด้านในเข่าและหน้าแข้ง
  • ข้อฝืด เหยียดงอเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในข้อเวลาขยับเข่า ถ้านั่งยอง คุกเข่า นั่งพื้น แล้วลุกลำบาก
  • ข้อบวม ร้อน เพราะมีการอักเสบทำให้น้ำไขข้อมากขึ้น มีก้อนถุงน้ำในข้อพับเข่าจากเยื่อบุข้อเข่าโป่งออก
  • เข่าคดเข้า เข่าโก่งออก หรือ มีกระดูกงอก ทำให้ข้อผิดรูป กล้ามเนื้อรอบข้อลีบเล็กลง เดินกะเผลก

เอกซเรย์ พบมีช่องของข้อเข่าแคบลง มีกระดูกงอก แต่ความผิดปกติทางเอกซเรย์ อาจไม่สัมพันธ์กับอาการ (เอกซเรย์มีข้อเสื่อมมากแต่ไม่ค่อยปวด) จึงไม่จำเป็นต้องเอกซเรย์ ยกเว้น ผู้ที่รักษาแล้วไม่ดีขึ้น หรือก่อนการผ่าตัด

http://www.kinetesisspineandjoint.ca/knee_osteoarthritis/ 

 

ACR Clinical Classification Criteria for Osteoarthritis of the knee:

Using history and physical examination

  • pain in the knee and 3 of the following
    • Over 50 years of age
    • Less than 30 minutes of morning stiffness
    • Crepitus on active motion
    • Bony tenderness
    • Bony enlargement
    • No palpable warmth of synovium

 

แนวทางรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาด จุดมุ่งหมายในการรักษาทุกวิธีคือ บรรเทาอาการปวด ทำให้ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น ป้องกันหรือแก้ไขข้อที่ผิดรูป เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร

 

การจัดการและการใช้ยา

  • ขณะปวด ให้พักการใช้ข้อเข่า
  • ใช้ยาต้านการอักเสบชนิดทาภายนอก หรือ ยาทาเจลพริก
  • ประคบด้วยความเย็น/ความร้อน กายภาพบาบัด การฝังเข็ม
  • ผ้ารัดเข่าเฝือกอ่อนพยุงเข่า (แต่ถ้าใส่ติดต่อกันนาน จะทาให้กล้ามเนื้อลีบ) ถ้ามีเข่าผิดรูป ให้ใส่เป็น สนับเข่าแกนเหล็กด้านข้าง หรือใช้อุปกรณ์พยุงเข่า (knee brace / support)
  • บริหารกล้ามเนื้อ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวและป้องกันข้อติด เพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อรอบข้อ
  • ยาบรรเทาอาการ เช่น Acetaminophen, Non-steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs) ยาคลายกล้ามเนื้อ ถ้าไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา และต้องระวังภาวะแทรกซ้อน
  • ยากลุ่ม SYSADOA (Symptomatic slow acting drugs for osteoarthritis) เช่น กลูโคซามีนซัลเฟต (Glucosamine sulfate) หรือไดอะเซอเรน (Diacerein) ถือว่าเป็น “ทางเลือก” ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 3 เดือน ให้หยุดยา แต่ถ้าอาการดีขึ้น แนะนาให้ใช้ต่อไม่เกิน 6 เดือน และหยุดยาอย่างน้อย 6 เดือน
  • ฉีดน้ำไขข้อเทียม ช่วยให้อาการดีขึ้น เฉลี่ย 6 เดือน – 1 ปี แต่มีราคาค่อนข้างสูง (13,000 – 16,000 บาท) จึงแนะนาให้ใช้ในผู้ป่วยที่ รักษาด้วยวิธีอื่น ๆไม่ได้ผล แต่ยังไม่อยากผ่าตัด หรือผ่าตัดไม่ได้
  • การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ หรือเจาะดูดน้ำไขข้อ ถึงแม้ทาให้อาการปวดดีขึ้นรวดเร็ว แต่ผ่านไป 1 – 2 เดือน จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม และมีผลข้างเคียงสูง เช่น ข้อเสื่อมเร็วขึ้น กระดูกพรุน กล้ามเนื้อลีบ ติดเชื้อ แต่ถ้าจำเป็น ขณะฉีดยาหรือเจาะข้อ ต้องป้องกันการติดเชื้ออย่างดี เช่น ใช้ผ้าปลอดเชื้อ ถุงมือปลอดเชื้อ เป็นต้น ไม่ควรฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ มากกว่าปีละ 2 – 3 ครั้ง หลังฉีดต้องลดการใช้เข่า 1 – 2 อาทิตย์และใส่ผ้ารัดเข่าร่วมด้วย

http://www.kinetesisspineandjoint.ca/knee_osteoarthritis/

การผ่าตัด

  • การส่องกล้องผ่าตัดในข้อ (Arthroscopic surgery) เฉพาะในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีอาการเนื่องจาก มีหมอนรองข้อเข่า (meniscus) หรือกระดูกอ่อนหลวม (Loose bodies) หรือมีแผ่นเนื้อ (Flap ) ทำให้ข้อเข่ายึดเหยียดงอไม่ได้หรือเดินแล้วล้มเท่านั้น และไม่แนะนำ การเจาะล้างข้อเข่า (Needle lavage) ครูดหรือเจาะเนื้อเยื่อในข้อ (Arthroscopic abrasion or drilling) รวมทั้งการผ่าตัดผ่านกล้องในการรักษาผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมที่มีเข่าผิดรูป เพราะไม่ให้ประโยชน์
  • การผ่าตัดจัดแนวกระดูก (Realignment osteotomy) ในการรักษาผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมในช่องเพียงด้านเดียว (Unicompartment) ซึ่งมีอาการ แต่ยังแข็งแรงแคล่วคล่อง (Active) และมีแนวกระดูกผิดปกติ (Malalignment)
  • การผ่าตัดกระดูกจัดแนวแข้งด้านบน (high tibial osteotomy: HTO) ในผู้ป่วยอายุน้อยและยังมีกิจกรรมมาก (young, active) โดยผู้ป่วยต้อง งอเข่าได้อย่างน้อย 90 องศา ยังมีกระดูกอ่อนผิวข้อด้านในคงเหลืออยู่ ไม่มีการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อเข่าด้านนอกและกระดูกอ่อนผิวสะบ้าหรือมีน้อยมาก และเข่ายังมั่นคงดีหรือมีการเลื่อนไปด้านนอกหรือความไม่มั่นคงไม่มากนัก
  • การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ ( Total knee arthroplasty) เป็นต้น การผ่าตัดถือว่าเป็นทางเลือกสุดท้าย ใช้ในผู้ที่มีอาการมาก รักษาด้วยวิธีอื่นแล้วไม่ดีขึ้น เนื่องจากมีข้อจากัด เช่น ข้อเข่าเทียมจะใช้ได้แค่ 10 – 15 ปี เป็นต้น แต่การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม จะดีในแง่ลดอาการปวด เคลื่อนไหวข้อได้ดีขึ้น


ข้อบ่งชี้
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อ ต้องมีลักษณะซึ่งเป็นข้อบ่งชี้ทุกข้อดังต่อไปนี้

  • ให้การรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัด มากกว่า 6 เดือน แต่ไม่ได้ผล
  • มีผิวข้อเข่าทุกผิวเสื่อมอย่างรุนแรง (Severe tri-compartmental osteoarthritis)
  • อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป


ข้อห้าม
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งข้อในผู้ป่วยที่มีข้อห้ามข้อหนึ่งข้อใดดังต่อไปนี้

  • ข้อเสื่อมเหตุประสาทพยาธิสภาพ (Neuropathic arthritis)
  • มีการติดเชื้อในข้อในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา
  • มีการสูญเสียการทำงานของกล้ามเนื้อเหยียดเข่าอย่างสิ้นเชิง

 

ข้อแนะนำการดูแลตนเอง

  1. ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะผู้ที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) มากกว่า 23 กิโลกรัมต่อตารางเมตร ควรลดน้ำหนักลงให้อยู่ในระดับใกล้เคียงมาตรฐานหรืออย่างน้อยร้อยละ 5 ของน้ำหนักตัวขณะที่มีอาการปวดข้อ เพราะเมื่อเดินจะมีแรงกดลงที่เข่าประมาณ 5 เท่าของน้ำหนักตัว แต่ถ้าวิ่งจะมีแรงกดลงที่เข่า เพิ่มขึ้นเป็น 7 – 10 เท่าของน้ำหนักตัว ( การถีบจักรยาน เข่าจะรับแรงกดเพียง 1.5 เท่าของน้ำหนักตัวเท่านั้น ) ดังนั้น ถ้าลดน้ำหนักตัวได้ เข่าก็จะรับแรงกดน้อยลง อาการปวดก็จะลดลงด้วย
  2. ท่านั่ง ควรนั่งบนเก้าอี้สูงระดับเข่า ซึ่งเมื่อนั่งห้อยขาแล้วฝ่าเท้าจะวางราบกับพื้นพอดี หลีกเลี่ยง การนั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ นั่งคุกเข่า นั่งยอง ๆ หรือ นั่งราบบนพื้น
  3. เวลาอาบน้ำ หรือสระผมควรใช้ เก้าอี้นั่ง เพื่อป้องกันการลื่นหกล้มขณะอาบน้ำ
  4. เวลาเข้าห้องน้ำ ควรนั่งถ่ายบนโถนั่ง (แบบนั่งราบ) หรือ นั่งบนเก้าอี้สามขาที่มีรูตรงกลาง วางไว้เหนือคอห่าน และควรทำที่จับยึดบริเวณด้านข้างโถนั่ง เพื่อใช้จับพยุงตัวเวลาจะลงนั่งหรือจะลุกขึ้นยืน
  5. นอนบนเตียง ซึ่งมีความสูงระดับเข่า เมื่อนั่งห้อยขาที่ขอบเตียงแล้วฝ่าเท้าจะแตะพื้นพอดี
  6. ไม่ควรนอนราบบนพื้น เพราะต้องงอเข่าเวลาจะนอนหรือจะลุกขึ้น ทำให้ผิวข้อเสียดสีกันมากขึ้น
  7. หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได ขณะขึ้นลงบันได จะมีแรงกดที่เข่าประมาณ 3 เท่าของน้ำหนักตัว
  8. หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนาน ๆ ควรขยับเปลี่ยนท่าหรือเหยียด-งอข้อเข่า บ่อย ๆ
  9. การยืน ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน
  10. การเดิน ควรเดินบนพื้นราบ หลีกเลี่ยง ทางลาดเอียงหรือทางเดินที่ขรุขระ เพราะทำให้น้ำหนักตัวที่ลงไปที่เข่าเพิ่มมากขึ้น ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย (สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือไม่มีส้นรองเท้า พื้นรองเท้านุ่มพอสมควร และมีขนาดกระชับพอดี
  11. ใช้ไม้เท้า ในช่วงที่มีอาการปวด หรือในผู้ที่มีข้อเข่าโก่งผิดรูป เพื่อช่วยรับน้ำหนัก (ลดแรงกระทำต่อข้อเข่าได้ประมาณร้อยละ 25 ของน้ำหนักตัว) และช่วยพยุงตัวเมื่อจะล้ม ในผู้ที่ปวดเข่ามากข้างเดียว ให้ถือไม้เท้าในด้านตรงข้ามกับเข่าที่ปวด แต่ถ้าปวดทั้งสองข้างให้ถือไม้เท้าในข้างที่ถนัด
  12. บริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่า ให้แข็งแรง ซึ่งจะช่วยลดอาการปวด ข้อเคลื่อนไหวดีขึ้น การทรงตัวดีขึ้น
  13. ควรออกกาลังกายที่ไม่ต้องลงน้ำหนักมากนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เดินเร็ว ๆ วิ่งเหยาะ ๆ เป็นต้น แนะนำให้ออกกาลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละ 20 – 40 นาที สัปดาห์ละ 3 – 5 วัน

แนะนาอ่านเพิ่มเติม
แนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคข้อเข่าเสื่อม พ.ศ.2554
http://www.rcost.or.th/web/ACR Diagnostic Guidelines Osteoarthritis

 

ผู้เขียน นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์
ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชกรรม สาขาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก