Health4senior

ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system)

ระบบต่อมไร้ท่อ (Endocrine system) เป็นระบบสื่อสารภายในร่างกาย ผ่านฮอร์โมน (Hormone) โดยทำหน้าที่ควบคุมเชื่อมโยง ติดต่อประสานและทำงานร่วมกับระบบอื่น ๆ ของร่างกาย โดยการทำงานจะอยู่ในลักษณะช้า ๆ และส่งผลในระยะยาว เช่น การเจริญเติบโตของร่างกาย การพัฒนาของระบบสืบพันธ์ การมีประจำเดือน การเผาผลาญ การควบคุมปริมาณน้ำและเกลือแร่ เป็นต้น

 

ต่อม (Gland) ในร่างกายมนุษย์สามารถแบ่งตามการส่งสารเคมีที่หลั่งออกมา ได้เป็นต่อมไร้ท่อ (Endocrine gland) หรือต่อมไม่มีท่อ ต่อมประเภทนี้จะมีการหลั่งสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน (Hormone) เข้าสู่กระแสเลือดหรือน้ำเหลือง เพื่อไปควบคุมหรือดัดแปลงสมรรถภาพของเซลล์ที่อวัยวะเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ตับอ่อน รังไข่ และอัณฑะ สำหรับต่อมมีท่อ (Exocrine gland) จะมีการหลั่งสารที่ต่อมสร้าง ผ่านทางท่อของต่อมส่งไปยังอวัยวะเป้าหมาย ตัวอย่างเช่น ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำตา ต่อมน้ำนม ต่อมเหงื่อ

โดยมีบางต่อม เป็นทั้งต่อมไร้ท่อและต่อมมีท่อ เช่น ตับอ่อน หลั่งน้ำย่อยผ่านท่อเข้าสู่ลำไส้เล็ก ขณะเดียวกันมีการหลั่งฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด หรืออัณฑะสร้างตัวอสุจิส่งออกทางท่อ ขณะเดียวกันยังมีการหลั่งฮอร์โมนเพศเข้าสู่กระแสเลือด

 

อวัยวะที่เกี่ยวข้อง

  1. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) เป็นต่อมขนาดเล็กอยู่ติดกับด้านหลังของต่อมไทรอยด์ ต่อมนี้สร้างฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid hormone-PTH) หรือพาราทอร์โมน เพื่อทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย อันส่งผลต่อความแข็งแรงของกระดูก และการทำงานของกล้ามเนื้อ
  2. ต่อมหมวกไต (Adrenal gland) เป็นต่อมที่ตั้งอยู่ด้านบนของไต (Kidney) ต่อมนี้สร้างฮอร์โมนสำคัญ ๆ หลายชนิด เช่น ฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenalin) ช่วยให้ร่างกายมีความพร้อมเมื่ออยู่ในภาวะเครียด ตกใจกลัว ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ช่วยเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กดภาวะภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบ ฮอร์โมนอัลโดสเตอโรน (Aldosterone) ช่วยควบคุมความดันโลหิตในร่างกาย รวมถึงฮอร์โมนเพศ
  3. ตับอ่อน (Pancreas) อยู่ด้านซ้ายของช่องท้อง วางตัวตามแนวส่วนโค้งของลำไส้เล็กส่วนต้น บริเวณที่เรียกว่า Islets of Langerhans จะเป็นกลุ่มเซลล์ที่สร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) และฮอร์โมนกลูคากอน (Glucagon) มีบทบาทในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  4. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) หลั่งฮอร์โมนที่สำคัญ ๆ ของร่างกาย เช่น โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกาย โดยเฉพาะกระดูกและกล้ามเนื้อ ฮอร์โมนโกนาโดโทรฟิน (Gonadotrophin) กระตุ้นให้มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ควบคุมลักษณะทางเพศ รวมถึงฮอร์โมนที่กระตุ้นให้เซลล์เม็ดสีสร้างเม็ดสีเพิ่มมากขึ้น
  5. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid) เป็นต่อมที่อยู่ส่วนล่างด้านหน้าของคอ ติดกับหลอดลมและกล่องเสียง ต่อมนี้หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมองและระบบประสาท รวมถึงการควบคุมอัตราเมตาบอลิซึม (Metabolism) ภายในร่างกาย
  6. ต่อมไพเนียล (Pineal ) เป็นต่อมที่อยู่บริเวณกึ่งกลางของสมองส่วนซีรีบรั (Cerebrum) ต่อมนี้หลั่งฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) มีผลต่อวงจรนาฬิกาชีวภาพ (Biological clock) ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยให้สิ่งมีชีวิตสามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปในรอบวันได้
  7. ต่อมไทมัส (Thymus) เป็นต่อมที่อยู่ใต้กระดูกอก และด้านหน้าหัวใจ มีขนาดใหญ่ในเด็กและฝ่อเล็กลงเมื่ออายุมากขึ้น ต่อมนี้หลั่งฮอร์โมนไทโมซิน (Thymosin) กระตุ้นให้มีการสร้าง T-lymphocyte ในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  8. ต่อมเพศ (Gonad) ในเพศชายคือ อัณฑะ (Testis) เป็นทั้งต่อมมีท่อและต่อมไร้ท่อ โดยผลิตอสุจิ (Sperm) ส่งออกทางท่อ และหลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone) ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ และลักษณะต่างๆของความเป็นชาย ในเพศหญิงรังไข่ (Ovary) จะผลิตไข่ (Ovum) ให้พร้อมและตกจากรังไข่สลับข้างกันทุกเดือน พร้อมทั้งหลั่งฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ และลักษณะต่าง ๆ ของความเป็นเพศหญิง รวมถึงฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) จะทำหน้าที่ระงับไม่ให้ไข่สุกระหว่างตั้งครรภ์เพื่อป้องกันไม่ให้มีประจำเดือนระหว่างตั้งครรภ์
.

โรคระบบต่อมไร้ท่อที่พบบ่อย

โรคเบาหวาน   โรคของต่อมไทรอยด์   โรคอ้วนที่เกิดจากต่อมทำงานผิดปกติ   โรคพีซีโอเอส (PCOS)   โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ   โรคมะเร็งตับอ่อน   โรคออโต้อิมมูนหรือภูมิต้านตนเอง
  • โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการขาดหรือการดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือดเพื่อส่งต่อให้เซลล์ไปใช้เป็นพลังงานมีความผิดปกติ หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้เป็นเวลานาน จะทำให้หลอดเลือดแดงและอวัยวะที่เกี่ยวข้องเสื่อม เกิดโรคและอาการแทรกซ้อนตามมา
  • โรคของต่อมไทรอยด์ เป็นโรคที่ทำให้การทำงานของต่อมไทรอยด์ผิดปกติ ทำให้มีไทรอยด์ฮอร์โมนมากหรือน้อยกว่าปกติ จนเกิดผลกระทบกับร่างกาย โดยกรณีที่มีฮอร์โมนมากกว่าปกติ จะมีอาการเหนื่อย ใจสั่น ขี้ร้อน น้ำหนักลด เหงื่อมาก ตาโปน แขนขาอ่อนแรง กรณีที่มีฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ จะมีอาการความคิดช้า เฉื่อยชา ง่วงนอน น้ำหนักขึ้น ตัวบวม หน้าบวม
  • โรคอ้วน เป็นภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันในส่วนต่างๆของร่างกายจนเกินปกติ โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป โดยภาวะดังกล่าวจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนคือ การทำงานผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนผิดปกติ เช่น โรคขาดไทรอยด์ฮอร์โมน โรคเนื้องอกต่อมใต้สมองเป็นต้น
  • โรคพีซีโอเอส (PCOS) เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ หรือฮอร์โมนC
  • ในร่างกายสตรี โดยการทำอัลตร้าซาวด์จะพบถุงน้ำเล็กๆ (Cyst) หลายใบในรังไข่ ผู้ป่วยจะมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติ และมีลักษณะของฮอร์โมนเพศชายสูง ทำให้มีสิว หรือขนดกกว่าผู้หญิงทั่วไป
  • โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้สมบูรณ์ในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ อาการนี้อาจเกิดขึ้นกับผู้ชายในช่วงวัยใดก็ได้ แต่ก็มักจะพบมากขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะดังกล่าวมีหลายสาเหตุ หนึ่งในนั้นคือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมนที่ทำให้ความต้องการทางเพศลดลง รวมถึงระดับฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน (Testosterone) ลดลง ระดับฮอร์โมนโปรแลกติน (Prolactin) เพิ่มขึ้น และภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนมากหรือน้อยเกินไป
  • โรคมะเร็งตับอ่อน พบได้เรื่อยๆ แต่ไม่บ่อย ในระยะแรกมักจะไม่มีอาการแสดง แต่เมื่อมะเร็งลุกลามไป ผู้ป่วยจะมีอาการแสดง เช่น ปวดท้องโดยปวดร้าวไปที่หลัง  เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลง อาหารไม่ย่อย ดีซ่าน อุจจาระสีซีด คันตามผิวหนัง อาจคลำได้ก้อนในท้อง และอาการอื่น ๆ ตามอวัยวะที่มะเร็งลุกลามไป เป็นต้น

 

เรียบเรียงข้อมูลโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.webmd.com  en.wikipedia.org  www.emedicinehealth.com  www.haamor.com
ภาพประกอบจาก: www.shutterstock.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก