Health4senior

14 สาเหตุ และวิธีจัดการ “ความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า”

อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า รู้สึกง่วงหงาว หาวนอนอยู่ตลอดเวลา จนทำให้คุณกลายเป็นคนมีภาพลักษณ์ที่โทรม ขาดพละกำลังที่จะทำงาน ออกกำลังกาย หรือแม้แต่การทำกิจกรรมที่เคยทำได้ดีมาก่อน ถ้าเรื่องแบบนี้เกิดขึ้น คุณมีแนวโน้มว่าจะมีความผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง รีบตรวจสอบแล้วหาทางแก้ที่เหมาะสมกัน   

 

1. นอนหลับไม่พอ

คุณมีแนวโน้มชัดเจนว่า นอนหลับไม่พอ ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสมาธิและสุขภาพ เช่น รู้สึกอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ดังนั้นจึงควรให้ความสำคัญกับการนอนหลับเป็นอันดับต้น ๆ อย่าเคยชินกับการนอนดึก โดยควรนอนให้ได้ 7 – 8 ชั่วโมงต่อวัน แต่ถ้าคุณประสบปัญหานอนไม่หลับ ควรพบแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไขเสีย

 

2. ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

คุณอาจไม่รู้ตัวว่าร่างกายของคุณเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea – OSA) ซึ่งทุกครั้งที่เกิดภาวะนี้ จะเป็นการขัดขวางวงจรการนอนหลับ ทำให้แต่ละช่วงการนอนไม่ปกติ กรณีที่สงสัยควรติดต่อขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ วิธีแก้ในขั้นต้นคือ คุณต้องควบคุมน้ำหนักตัว งดสูบบุหรี่ และอาจจำเป็นต้องมีเครื่องมือ CPAP (Continuous Positive Airway Pressure) เพื่อช่วยให้การหายใจไม่ติดขัดระหว่างนอนหลับ

 

3. กินอาหารไม่พอ

การกินอาหารให้เพียงพอ หรือกินให้สมดุล มีเคล็ดลับง่าย ๆ คือ กินอาหารเช้าทุกวัน และทุกมื้อควรมีอาหารที่มีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต อยู่ด้วย อาทิ กินไข่คู่กับขนมปังโฮลเกรน และในระหว่างมื้อถ้าหิว ให้หาอะไรกินเล็กน้อย เพื่อคงพลังงานในร่างกายให้สมดุล

 

4. ภาวะโลหิตจาง

สำหรับผู้หญิงที่อยู่ในช่วงมีประจำเดือน อาจเกิดอาการอ่อนเพลีย เพราะร่างกายขาดธาตุเหล็ก ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ดังนั้นช่วงที่เป็นประจำเดือนควรทานอาหารประเภท เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ตับ หอย อาหารจำพวกถั่ว และซีเรียลที่อุดมด้วยแร่ธาตุ หรือเลือกกินอาหารเสริมที่มีธาตุเหล็ก

 

5. ภาวะซึมเศร้า

ภาวะซึมเศร้า หลายๆคนมองว่าเป็นเรื่องของจิตใจ อย่างไรก็ตามภาวะดังกล่าวสามารถส่งผลต่อร่างกาย โดยเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า รวมถึงการปวดหัว เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ และอาการอื่น ๆ โดยหากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันหลายสัปดาห์ ควรขอรับคำแนะนำวิธีการรักษาจากแพทย์ทันที

 

6. ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ

ต่อมไทรอยด์ หลั่งไทรอยด์ฮอร์โมน มีหน้าที่ควบคุมเมตาบอลิซึมของร่างกาย ในการเปลี่ยนสารอาหารให้เป็นพลังงาน แต่เมื่อต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ การเผาผลาญจะช้าลง ทำให้ร่างกายคุณมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า

 

7. ร่างกายรับคาเฟอีนมากเกินไป

หากร่างกายรับคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไป จะทำให้ชีพจรหรืออัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิตสูงขึ้น บางรายจะตามมาด้วยอาการอ่อนเพลีย ทางออกที่ดีคือ ค่อย ๆ ลดปริมาณกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีน แต่ไม่ควรหักดิบ เพราะนั่นจะทำให้อ่อนเพลียมากขึ้นกว่าเดิม

 

8. โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ

ผู้ที่เป็นโรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Infection – UTI) อาจเคยชินกับอาการปวดปัสสาวะกะทันหัน หรืออาการที่เกี่ยวกับการติดเชื้อ แต่ถ้าเกิดรายกายคุณมีอาการอ่อนเพลียนำ แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด โดยแพทย์จะให้ตรวจปัสสาวะและให้ยาปฏิชีวนะในกรณีที่คุณเป็นโรคในกลุ่มนี้

 

9. โรคเบาหวาน

คนที่เป็นโรคเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ เพราะน้ำตาลไม่ได้ถูกดูดซึมเข้าสู่เซลล์แล้วผ่านกระบวนการเมตาบอลิซึมเพื่อให้ได้พลังงาน ร่างกายจึงอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าเพราะขาดพลังงาน ดังนั้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และหากเป็นโรคเบาหวานจริง คุณต้องยอมเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมสุขภาพ โดยต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย รักษาด้วยอินซูลินและยาตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้ร่างกายดูดซึมน้ำตาลได้ดีขึ้น

 

10. ร่างกายขาดน้ำ

การอ่อนเพลียของคุณ อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าร่างกายกำลังขาดน้ำ ไม่ว่าขณะนั้นคุณจะออกกำลังกาย หรือนั่งทำงาน ถ้าคุณมีอาการหิวน้ำบ่อย ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณว่า ร่างกายกำลังขาดน้ำ ทางแก้ง่าย ๆ คือ ระหว่างวันควรดื่มน้ำบ่อย ๆ และควรดื่มน้ำ 2 แก้วก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมง ระหว่างออกกำลังกายให้หมั่นจิบน้ำ และหลังเสร็จสิ้นการออกกำลังกายแล้ว ให้ดื่มน้ำอีก 2 แก้ว

 

11. โรคหัวใจ

หากคุณทำกิจกรรมที่เคยทำอยู่ตามปกติ เช่น ทำความสะอาดบ้าน ซักผ้า ตัดหญ้า เล็มต้นไม้ แล้วภายหลังรู้สึกเหนื่อยผิดปกติ คุณควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คเรื่องของโรคหัวใจหรือสาเหตุอื่นๆ  ซึ่งแพทย์อาจแนะนำให้คุณเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมสุขภาพ รวมถึงการใช้ยาที่จำเป็นเพื่อควบคุมภาวะโรคหัวใจ และช่วยฟื้นฟูกำลังให้กับคุณ

 

12. ทำงานผิดเวลา

การทำงานกะกลางคืน หรือทำงานเวลาไม่แน่นอน ส่งผลกระทบต่อวงจรนาฬิกาชีวภาพ แม้จะชดเชยด้วยการนอนหลับกลางวัน แต่การนอนช่วงเวลาดังกล่าวคุณอาจหลับไม่สนิท ทางเลือกของคุณเบื้องต้นคือ จัดห้องนอนให้เหมาะแก่การนอนให้มากที่สุด เพื่อให้ร่างกายพักผ่อนเต็มที่ หากยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์

 

13. แพ้อาหาร

แพทย์หลายๆท่านเชื่อว่า การแพ้อาหารทำให้ง่วงนอน ดังนั้นลองสังเกตดูว่าอาการอ่อนเพลียของคุณ สอดคล้องกับอาหารที่รับประทานไหม ถ้าใช่ให้เลี่ยงอาหารชนิดนั้น หรือพบแพทย์เพื่อทำการทดสอบภาวะแพ้อาหาร ซึ่งจะช่วยบ่งชี้ได้ว่า ร่างกายคุณแพ้อาหารชนิดใด

 

14. กลุ่มอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

หากคุณอ่อนเพลียต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 6 เดือน โดยเฉพาะถ้ามีอาการปวด จะปวดรุนแรงมากกว่าปกติจนไม่สามารถทำงานหรือทำกิจกรรมได้ เป็นไปได้ว่าคุณอาจเป็นโรคไฟโบลไมอัลเจีย (Fibromyalgia) ซึ่งเป็นกลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อ เอ็นและเนื้อเยื่ออ่อน แม้ปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาโรคนี้ให้หายขาด แต่บำบัดได้ด้วยการออกกำลังกาย  เปลี่ยนไลฟ์สไตล์และพฤติกรรมสุขภาพ นอนหลับให้เพียงพอ

 

ทั้งหมดอาจเป็นต้นเหตุที่ทำให้ร่างกายของคุณเกิดอาการ “อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า” ได้ คุณควรหาสาเหตุและวิธีแก้ก่อนที่จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ แต่หากมีอาการอ่อนเพลียเพียงเล็กน้อย และไม่เกี่ยวข้องกับโรคใด ๆ การออกกำลังกายสม่ำเสมอและการพักผ่อนให้เพียงพอ อาจช่วยคุณได้  

 

เรียบเรียงโดย: กองบรรณาธิการ
แหล่งที่มา: www.webmd.com
ภาพประกอบ: www.freepik.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แสดงความคิดเห็น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณ เพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ

บันทึก